หมวดหมู่บทความ พบคุณหมอเด็ก จิตวิทยาลูกรัก

Search by tag : คลินิคคุณแม่, จิตวิทยาลูกรัก, กฎ 3 ข้อในการควบคุมลูกให้ได้ผล, พบคุณหมอเด็ก, ทำไมลูกชอบตื่นร้องกลางดึก


พัฒนาการ...ดอก ผลของการเลี้ยงลูกน้อย PDF Print E-mail
Written by Administrator   
Saturday, 20 December 2008

                ถ้าเปรียบการเลี้ยงดูลูกเหมือนการปลูกต้นไม้พัฒนาการก็เปรียบเสมือนดอกไม้หรือผลไม้ที่เราคาดหวังจะได้เห็น ได้ชื่นชมพัฒนาการของลูกน้อยแต่ละวัยมีความหมายอย่างยิ่งครับ เพราะไม่เพียงแต่บ่งบอกถึงการเจริญเติบโตของสมองเท่านั้นแต่ยังมีความสำคัญในการติดตามภาวะผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นเพื่อจะได้แก้ไขได้ทันท่วงทีครับคุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาหาความรู้ สังเกตและจดบันทึกพัฒนาการของลูกรวมถึงพูดคุยปรึกษาปัญหาพัฒนาการกับกุมารแพทย์เมื่อพาลูกมารับวัคซีนป้องกันโรคตามที่แพทย์นัดนอกจากนี้ยังเอาไว้ใช้สำหรับฝึกการช่วยเหลือตนเองของลูกได้ด้วยครับ เช่น อายุเท่าไรจึงควรฝึกให้ลูกจับช้อนกินข้าวเอง หรือควรให้ลูกใส่เสื้อยืดคอกลมเอง เมื่ออายุเท่าไร อย่างนี้เป็นต้น

                ผมจึงได้สรุปพัฒนาการที่สำคัญๆ ของเด็กแต่ละวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึง5ขวบมาให้แล้วครับ

•ลูกน้อยวัยแรกเกิด

จะสามารถหันศีรษะไปด้านข้างได้เริ่มมองวัตถุที่อยู่ใกล้ตัว โดยเฉพาะใบหน้าของคนโดยเฉพาะคุณแม่จะได้รับความสนใจเป็นพิเศษเลยครับ

• ลูกน้อยวัย 1เดือน

เมื่ออยู่ในท่านอนคว่ำเด็กจะเริ่มยกคางขึ้นจากพื้นได้เล็กน้อย

• วัย 2 เดือน

    - พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ

                ลูกน้อยจะเริ่มชันคอได้และเมื่ออยู่ในท่านอนคว่ำก็จะเริ่มยกศีรษะและหน้าอกขึ้นจากพื้นได้

    - พัฒนาการด้านภาษาและสังคม

                ถึงตอนนี้ลูกน้อยก็เริ่มยิ้มตอบกับแม่ได้แล้วครับ

• วัย 4 เดือน

    - พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ

เด็กจะเริ่มคว่ำได้เริ่มใช้มือหยิบจับวัตถุสิ่งของและเริ่มปล่อยคลายวัตถุออกจากมือได้ถึงตอนนี้ก็ควรหาของเล่นมีเสียงกรุ๊งกริ๊งให้ลูกน้อยฝึกหยิบจับครับ

    - พัฒนาการด้านภาษาและสังคม

เริ่มหัวเราะเสียงดังเวลาพอใจหรือสนุกสนานตอนนี้เป็นโอกาสดีเลยครับที่ใช้การยิ้มทักทาย ใช้ใบหน้าท่าทางเล่นกับลูกครับลูกน้อยก็จะมองหน้าพ่อแม่แล้วยิ้ม หัวเราะเอิ๊กอ๊าก โต้ตอบกลับมา

•วัย 6 เดือน

    - พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ

ลูกน้อยจะพลิกตัว ม้วนตัวได้คล่อง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องเริ่มระวังการตกจากเตียงนะครับ

ลูกน้อยจะสามารถเปลี่ยนถ่ายวัตถุจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่งได้เริ่มคืบไปข้างหน้าหรือถอยหลังได้

เมื่อจับนั่ง จะนั่งได้ชั่วครู่

    - พัฒนาการด้านภาษาและสังคม

ลูกน้อยจะเริ่มออกเสียงโดยใช้ริมฝีปากได้และจะเริ่มแยกแยะใบหน้าของคนได้ วัยนี้ล่ะครับลูกอาจเริ่มจะกลัวคนแปลกหน้าและเริ่มมีความวิตกกังวลในการแยกจากพ่อแม่ ทำให้มักร้องไห้ตามเวลาพ่อแม่ออกห่างไปเช่นเวลาพ่อแม่จะไปเข้าห้องน้ำ ไปทำงาน

•วัย 9 เดือน

    - พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ

ลูกน้อยจะเริ่มนั่งเอง เริ่มคลาน เริ่มใช้นิ้วมือจิ้มหรือชอนไช ซอก หรือรูต่างๆ ได้

คุณพ่อคุณแม่อาจต้องระวังลูกน้อยเอามือไปแหย่ปลั๊กไฟนะครับทางที่ดีควรหาแผ่นพลาสติกที่ใช้สำหรับเสียบปิดรูปลั๊กไฟหาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไปครับ

    - พัฒนาการด้านภาษาและสังคม

เริ่มทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ เช่น ให้ธุจ้า (สวัสดี)บ๊ายบายได้

• วัย 1 ปี

    - พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ

เริ่มเกาะยืนและเดิน สามารถหยิบจับสิ่งของ เล็กๆ โดยใช้ปลายนิ้วโป้งและนิ้วชี้ได้ ดังนั้น ช่วงอายุนี้จึงควรระวังการที่เด็กจะสำลักของชิ้นเล็กๆลงหลอดลม เช่นเมล็ดถั่วหรือเศษของเล่นพลาสติก ผมเคยเจอเพื่อนคนหนึ่งที่เป็นหมอเด็กเหมือนกันเขาไม่ยอมให้ลูกได้กินถั่วเลยครับ เพราะกลัวลูกจะสำลักเข้าหลอดลมมากลูกเลยไม่รู้จักถั่วเลย จนกระทั่งถึงวัยอนุบาลพ่อถึงยอมให้กินบ้าง

    - พัฒนาการด้านภาษาและสังคม

เริ่มพูดเป็นคำที่สื่อความหมายได้เริ่มเล่นสมมุติกับตัวเองเช่นใช้ช้อนเด็กเล่นเพื่อสมมุติว่าตักอาหารใส่ปาก

ตอนนี้ล่ะ รีบเล่นกับลูกให้มากๆ เลยครับจินตนาการของเค้าเริ่มจะมาแล้ว

•วัย 1 ปี 6 เดือน

    - พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ

เดินคล่องบางคนเริ่มวิ่งได้ ต่อลูกบาศก์ได้ 2 - 3 อันถึงตอนนี้คุณพ่อคุณแม่เริ่มหาของเล่นที่ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อมือมาได้แล้วครับ

    - พัฒนาการด้านภาษาและสังคม

พูดเป็นคำๆ ได้10 - 15 คำ เด็กบางคนเริ่มพูดเป็นพยางค์(2 คำต่อกันได้) บอกความต้องการโดยการชี้นิ้วได้ ชี้อวัยวะ เช่น ตา หู จมูก ได้ 1 -2 อวัยวะ เริ่มจับช้อนกินข้าวเองได้ วัยนี้แหละครับ ที่ควรฝึกให้ลูกจับช้อนกินข้าวเอง แรกๆ อาจมีหกตกบ้างก็ไม่เป็นไรนอกจากนี้เด็กบางคนเริ่มบอกอุจจาระปัสสาวะได้บ้างแล้วครับ จึงควรค่อยๆ เริ่มฝึกการขับถ่ายให้ลูก

• วัย 2 ปี

    - พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ

สามารถวิ่งได้คล่อง ขึ้นลง บันได เองได้ ต่อลูกบาศก์ได้7 ชิ้น ใช้ดินสอวาดรูปวงกลมแบบหวัดๆ ได้

    - พัฒนาการด้านภาษาและสังคม

พูดเป็นประโยคได้ (3 คำต่อกัน) ใช้ช้อนตักอาหารได้ดีช่วยถอดเสื้อ กางเกงได้

เด็กอายุ1 – 2 ปีนี้จะมีพัฒนาการด้านภาษาที่ค่อนข้างเด่นชัดครับ เด็กส่วนใหญ่จะ เริ่มพูดคำ แรกอายุ 1ปี แต่เด็กบางคนอาจเริ่มพูดในช่วงอายุ1 - 2 ปีนี้อย่างไรก็ตามเกณฑ์ในการวินิจฉัยเด็กที่มีปัญหาพูดช้าหรือพัฒนาการทางภาษาผิดปกติคืออายุ 1 ปี 6 เดือนแล้วยังไม่ตอบสนองต่อคำสั่ง ไม่ทำตามสั่งหรืออายุ 2 ปีแล้วยังไม่พูดเป็นคำที่มีความหมายเลยสักคำ เมื่อคุณพ่อคุณแม่พบปัญหานี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจค้นหาสาเหตุ เช่น ตรวจการได้ยินและประเมินพัฒนาการโดยละเอียดครับ

•วัย 2 ปี 6 เดือน

    - พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ

ขึ้น-ลง บันไดสลับเท้าได้

    - พัฒนาการด้านภาษาและสังคม

รู้จักชื่อตัวเอง

• วัย 3 ปี

    - พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ

ถีบจักรยานสามล้อได้ ยืนด้วยขาข้างเดียวได้ชั่วครู่ต่อลูกบาศก์ได้ 10 ชิ้น

    - พัฒนาการด้านภาษาและสังคม

เริ่มรู้จักเพศ (ชาย- หญิง) นับจำนวนได้ถึง 3เล่นกับเด็กอื่นได้แต่เป็นลักษณะต่างคน ต่างเล่น ช่วยเหลือตัวเองในการใส่เสื้อผ้าได้เช่นใส่เสื้อยืดคอกลมเอง ปลดกระดุมเสื้อเอง ใส่รองเท้าเองอย่างที่เคยพูดคุยกันไปแล้วว่าคุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองตามวัยเพราะนอกจากจะเป็นการฝึกการประสานงานกันของกล้ามเนื้อมือและสายตาแล้วยังเป็นการฝึกความรับผิดชอบให้ลูกอีกด้วยครับถ้าวันนี้เราทำให้เขา ทั้งทั้งที่เขาทำเองได้แล้วเราก็ต้องตามทำให้เขาไปเรื่อยๆจนโตในวัยนี้ความวิตกกังวลในการแยกจากพ่อแม่เริ่มลดลงมากแล้วจึงเหมาะที่จะให้เริ่มเข้าโรงเรียนอนุบาลครับ

• วัย 4 ปี

    - พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ

กระโดดด้วยขาข้างเดียวได้ ปืนป่ายได้ ขว้างลูกบอลได้ใช้กรรไกรตัดกระดาษได้

    - พัฒนาการด้านภาษาและสังคม

เล่าเรื่องหรือเหตุการณ์สั้นๆ ได้ เล่นกับเพื่อนๆ ได้

•วัย 5 ปี

    - พัฒนาการด้านภาษาและสังคม

เริ่มรู้จักคุณลักษณะต่างๆ บอกสี ได้ 4 สีช่วยเหลือตัวเองในการแต่งตัวได้

น.พ.กมล แสงทองศรีกมล
กุมารแพทย์จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

Related items

ความเห็น (2)Add Comment
0
hudagdam
March 24, 2012
27.55.12.139
Votes: +0
0
anamija
February 04, 2012
61.19.66.42
Votes: +0
...

smilies/grin.gifsmilies/grin.gifsmilies/grin.gifsmilies/grin.gifขอบคุณค่ะ






http://www.funpalace88.com/

เขียนแสดงความเห็น
 
  smaller | bigger
 

busy
 
< Prev   Next >
นิตยสาร M&C แม่และเด็ก ฉบับที่ 558 มีนาคม - เมษายน 2564