หมวดหมู่บทความ เจริญเติบโตแข็งแรง 4 – 6 ปี

Search by tag : เจริญเติบโตแข็งแรง, 4 – 6 ปี, ทำไงดี เมื่อลูกเลียนแบบสิ่งไม่ดี


หนูเป็นตัวของตัวเอง PDF Print E-mail
Written by Administrator   
Tuesday, 24 April 2012
          ความเป็นตัวของตัวเอง อาจหมายความว่า การได้ทำอะไรตามอำเภอใจตัวเอง หรือการมีอิสระ ไปไหนมาไหนได้ ซึ่งลักษณะนี้ เป็นไปในเชิงกายภาพค่ะ ยังไม่ใช่การได้เป็นตัวของตัวเองที่แท้จริง การเป็นตัวของตัวเองก็คือการเข้าใจตนเอง ว่าสิ่งใดที่เรามีนั้นเป็นสิ่งที่ดี ก็ควรรักษาเอาไว้ และสิ่งใดที่ไม่ดีก็รู้จักเอาข้อเสียมาปรับปรุงตัวเอง นิสัยเหล่านี้ สามารถฝึกได้ตั้งแต่เด็กๆ เลยค่ะ
ลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง
ฝึกให้ลูกได้ทำอะไรด้วยตัวเอง อย่าประคบประหงมเกินเหตุ ให้เรียนรู้การใช้ชีวิตจากประสบการณ์โดยตรงค่ะ ให้รู้จักลองผิดลองถูก ผิดบ้างก็ถือเป็นครูเพื่อเอาไปปรับปรุงแก้ไขในอนาคต รับรองค่ะ ถ้าลองคุณพ่อคุณแม่ให้โอกาส พอเจ้าตัวเล็กโตขึ้นมาก็จะเป็นคนกล้าคิดกล้าทำ มีความมั่นใจ เวลาจะทำอะไรหรือไม่ทำอะไร เขาจะเป็นคนมีเหตุมีผล จะไม่คล้อยตามคนอื่นได้ง่าย มีความคล่องตัวและสามารถเอาตัวเองรอดได้ในสังคมที่มีความกดดันสูง
“คำตำหนิ” ห้ามเด็ดขาด
อย่างเวลาที่ลูกกินข้าวด้วยตนเองก็จะตำหนิโน่นนี่ เช่น “หนูโตแล้วนะ ลูก ทำไมยังกินเลอะเทอะอยู่ได้” คำตำหนิเมื่อเด็กทำผิดพลาดหรืออะไรที่เหมาะสม ควรพูดอย่างมีเหตุมีผลกับลูก ถ้าหากความผิดนั้นไม่ได้เกิดจากตั้งใจ และที่สำคัญ อย่ารื้อฟื้นความผิดเก่าๆ มาตำหนิซ้ำๆ บ่อยครั้ง จะให้ผลร้ายลงในจิตใจเด็ก ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกไม่ดีกับตนเอง เมื่อโตขึ้นก็กลายเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่มั่นใจในตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองไม่ค่อยมีคุณค่า โดยเฉพาะคำพูดเหล่านี้ “โง่”,”เซ่อ”,”ปัญญาอ่อน” ห้ามเด็ดขาดเลยค่ะ
โลกส่วนตัวของลูก
         วัย 4 - 6 ปีนี้ เป็นวัยที่เหมาะสมกับการแยกห้องนอนให้ลูกค่ะ เพราะเป็นวัยที่เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง รู้จักช่วยตัวเองได้ และสามารถอยู่ตามลำพังได้แล้ว แต่ก็ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปค่ะ ซึ่งถือเป็นการหัดให้เขาดูแลตนเอง มีระเบียบวินัย รู้จักรับผิดชอบดูแลห้องนอนของตนเอง เช่น ตื่นมาก็รู้จักเก็บที่นอนให้เข้าที่ ฯลฯ และปล่อยให้มีสิทธิเสรีภาพในการจัดห้องนอนได้อย่างอิสระ โดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเข้าไปยุ่ง สุดท้าย เวลาเข้าห้องนอนของลูกก็ต้องรู้จักให้เกียรติด้วยการเคาะประตูก่อนด้วยค่ะ
คำชมจากพ่อแม่
เด็กทุกคนล่ะค่ะ ต้องการคำชมจากพ่อแม่ของเขา อาจเป็นคำพูดหรือการกระทำก็ได้ เช่น ยิ้มให้ สวมกอด มองด้วยสายตาชื่นชม ฯลฯ ก็จะเป็นการกระตุ้นให้เขาอยากทำความดีมากยิ่งขึ้น  แต่การให้คำชมนั้น ควรทำให้เหมาสมกับสิ่งที่ลูกได้ทำ ไม่ควรพูดเกินความจริง และควรให้คำชมในขณะที่เด็กกำลังทำพฤติกรรมนั้นๆ หรืออาจจะหลังจากนั้นไม่นาน เช่น หลังจากเก็บของเล่นให้เข้าที่หรือรู้จักล้างมือก่อนกินข้าวโดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องบอกเลย ฯลฯ เพื่อให้ลูกได้รู้สึกถึงความภาคภูมิใจในการทำพฤติกรรมนั้น

อย่าสั่งงานยากๆ
การทำอะไรแล้วสำเร็จจะช่วยเสริมความมั่นใจให้กับลูกมากๆ ค่ะ แต่งานนั้นต้องไม่ยากเกินความสามารถของเขา เพราะถ้าทำไม่ได้บ่อยๆ เด็กก็จะรู้สึกเสียกำลังใจ จนกลายเป็นคนที่ไม่มั่นใจในตัวเอง ดังนั้น เราควรยอมรับในความสามารถของลูกอย่างที่เขาเป็นค่ะ



แสดงแบบ ด.ช.คุณากร ปัญญา (น้องโบ๊ท)
ความเห็น (0)Add Comment
เขียนแสดงความเห็น
 
  smaller | bigger
 

busy
Last Updated ( Monday, 05 November 2012 )
 
< Prev   Next >
นิตยสาร M&C แม่และเด็ก ฉบับที่ 558 มีนาคม - เมษายน 2564