หมวดหมู่บทความ คลินิคคุณแม่ คลินิคแม่และเด็ก

Search by tag : คลินิคคุณแม่, คลินิคแม่และเด็ก, น้ำประปาชงนมให้ลูกดีไหม


คำถามหมอลำดวน PDF Print E-mail
Written by Administrator   
Monday, 23 February 2009

ใกล้วัยทองประจำเดือนมาไม่ปกติ

1. ดิฉันมีลูกมา 3 คนแล้ว และตอนนี้ก็เข้าสู่วัยทองแล้วค่ะ เพียงแต่ว่าดิฉันหมดประจำเดือนไปตั้งนานแล้ว แต่อยู่ๆ ประจำเดือนก็มาอีกค่ะ และมาค่อนข้างเยอะและหลายวันมากค่ะ บางครั้งก็มาเกือบเดือนเลย และก็หายไปอาทิตย์เดียว และก็มาอีก ไม่ทราบว่าดิฉันผิดปกติหรือเปล่าคะ เพราะประจำเดือนหายไปนานมาก พอมาก็มาเยอะจนน่ากลัว คุณหมอช่วยตอบด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ทิพย์สุมล / สมุทรปราการ

 

WHO ได้ให้ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงในการเข้าสู่วัยหมดระดูไว้ดังนี้

1) วัยใกล้หมดระดู (perimenopause) เป็นระยะเวลาที่รังไข่เริ่มทำงานไม่ปกติ จนหยุดทำหน้าที่ไปในที่สุด ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่มีระดูไม่สม่ำเสมอจนสิ้นสุดการมีระดูอย่างถาวร โดยทั่วไปมีระยะเวลา 2-8 ปีก่อนเข้าสู่วัยหมดระดู และมักจะนับรวมไปถึงระยะเวลา 1 ปี หลังจากระดูครั้งสุดท้าย

2 วันหมดระดู (menopause) หมายถึงช่วงเวลาของการสิ้นสุดการมีระดูอย่างถาวร เนื่องจากรังไข่หยุดทำงาน สตรีที่มีระดูมาครั้งสุดท้ายที่อายุเท่าใด ถือว่าเข้าสู่วัยหมดระดูเมื่ออายุนั้น

3) วัยหลังหมดระดู (postmenopause) เป็นระยะเวลาหลังหมดระดู เช่น สตรีอายุ 52 ปี ที่มีระดูครั้งสุดท้ายเมื่ออายุ 49 ปี ก็ถือว่าหมดระดูมาแล้ว 3 ปี

                ในประเทศไทยพบว่าอายุเฉลี่ยของสตรีที่เข้าสู่วัยหมดระดูอยู่ระหว่าง 47 - 50 ปี สตรีที่สูบบุหรี่มักเข้าสู่วัยหมดระดูเร็วกว่าสตรีทั่วไป ประมาณ 1 - 5 ปี

ในสตรีที่หมดระดูจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายดังนี้

§     อาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ (hot flushes) เป็นกลุ่มอาการแดงเรื่อ และความรู้สึกร้อนที่ปรากฏขึ้นทันทีทันใดที่ผิวหนัง บริเวณศีรษะ ใบหน้า คอ หน้าอก อาจมีอาการนำที่ทำให้รู้สึกว่ากำลังจะเกิดอาการเช่น ใจสั่น ปวดศีรษะ และเมื่อเกิดอาการแดงร้อนขึ้นแล้ว อาจตามมาด้วยอาการเหงื่อออกมา รู้สึกหนาว อ่อนเพลีย วิงเวียน บางรายอาจมีอาการหน้ามืด เป็นลม ความรู้สึกร้อนตามผิวหนังมักเกิดในระยะเวลาสั้นๆ (30 วินาทีถึง 5 นาที) ความรุนแรงและความถี่บ่อยของอาการจะแอตกต่างกันไปแต่ละบุคคล และขึ้นกับสื่อกระตุ้น เช่น การดื่มกาแฟ อากาศที่ร้อน ความเครียด อาจทำให้เกิดอาการได้บ่อยขึ้น

§     ปากช่องคลอด จะมีการสูญเสียส่วนของคอลลาเจน เนื้อเยื่อไขมันและความสามารถในการอุ้มน้ำของเนื้อเยื่อ  นอกจากนี้ต่อมของเซลล์บุผิว ฝ่อลีบ และบางลง สารคัดหลั่งจากต่อมไขมันลดลง ทำให้มีอาการเจ็บแสบร้อน  คันหรือรู้สึกแห้งบริเวณปากช่องคลอดได้

§     ช่องคลอด จะแห้ง  จะทำให้มีอาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ช่องคลอดจะบางลง ซีด ยืดหยุ่นน้อยลง ติดเชื้อแบคทีเรียได้ง่ายขึ้น จึงอาจทำให้มีอาการเจ็บ แสบและคันได้

§       มดลูก จากการบางลงของเนื้อเยื่อของอวัยวะสืบพันธุ์ อันเป็นผลมาจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน จึงพบว่าปากมดลูกเป็นแผลได้ง่าย

§     ผลต่อทางเดินปัสสาวะ การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้เยื่อเมือกและเซลล์บุผิวบางลงทำให้มีการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และเกิดการอักเสบติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อหูรูดขงทางเดินปัสสาวะเปลี่ยนแปลงไป จึงมีผลต่อการกลั้นและขับถ่ายปัสสาวะไม่ได้ จึงทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ เป็นต้น

§     การเปลี่ยนแปลงของจิตใจและอารมณ์ สำหรับในประเทศไทยพบว่าสตรีวัยใกล้หมดระดูและวัยหมดระดู จะมีอาการนอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท จึงทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย อ่อนเพลีย หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ และหลงลืมง่าย

§     การเปลี่ยนแปลงของกระดูก ในตรีและบุรุษจะมีการเปลี่ยนแปลง ความหนาแน่นของกระดูกไปตลอดชีวิต โดยในวัยเด็กและวัยรุ่น ความหนาแน่นของกระดูกจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนมีความหนาแน่นของมวลกระดูกสูงสุดเมื่ออายุ 30 - 34 ปี จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงในอัตราร้อยละ 0.7 ต่อปี แต่จะลดลงในอัตราที่เร็วขึ้น เมื่อเข้าสู่วัยหมดระดู              โดยพบว่าสตรีที่เข้าสู่วัยหมดระดูตามธรรมชาติ จะสูญเสียกระดูกในอัตราร้อยละ 1 - 2 ต่อปี  แต่ในสตรีที่ได้รับการตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้าง ตั้งแต่ก่อนเข้าสู่วัยหมดระดู จะมีการสูญเสียกระดูกในอัตราที่เร็วกว่า ในสตรีที่เข้าสู่วัยหมดระดูจะมีการสูญเสียกระดูกเร็วขึ้น แต่ก็มีความแตกต่างกันในอัตราการสูญเสียกระดูกระหว่างบุคคล  ทำให้มีความเสี่ยงในดารเกิดโรคกระดูกพรุนเร็วช้าต่างกัน

§     การเปลี่ยนแปลงของหัวใจและหลอดเลือด พบว่าความชุกของโรคหัวใจและหลอดเลือดชนิดต่างๆ จะสูงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ความสัมพันธ์ของการเพิ่มขึ้นของโรคหัวใจและหลอดเลือด และการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในสตรีวัยหมดระดูจะเห็นได้ชัดเจน เมื่อพบว่าโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันในหญิงสาวพบน้อยเมื่อเทียบกับบุรุษ แต่มีแนวโน้มทีสูงขึ้นเรื่อยๆ ภายหลังจากการเข้าสู่วันหมดระดู จนมีอัตราส่วนใกล้เคียงกับบุบุรุษในช่วง 85-94 ปี

§     การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทส่วนกลาง: ความเสื่อมของระบบประสาทในสตรีเกิดขึ้นตามวัย เมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุ จะมีการลดลงของกำลังกล้ามเนื้อ การตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นลดลง  การเคลื่อนไหวช้าลง ระบบการมองเห็นและการทรงตัวเลวลง การได้ยินเสื่อมลง ความคิดอ่าน ความเฉลียวฉลาดและความทรงจำเสื่อมถอยลงไป อย่างไรก็ตาม มีการเปลี่ยนแปลงในระบบประสาทส่วนกลางบางประการที่มีความสัมพันธ์กับการลดลงของเอสโตรเจน เมื่อเข้าสู่วัยหมดระดู เช่น การเกิดอาการร้อนวูบวาบและการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ นอกจากนี้ปัญหาที่พบได้มากขึ้น เมื่อเข้าสู่วัยหมดระดูคือ อาการหลงลืมง่าย สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ และจดจำสิ่งใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเกิดโรค Alzheimer(อัลไซเมอร์) ซึ่งพบได้มากในผู้สูงอายุ โดยพบในสตรีมากกว่าบุรุษ

หมอไม่ทราบว่าคุณทิพย์สุมล หมดประจำเดือนไปนานแค่ไหน อาจไม่ใช่หมดจริงๆก็ได้ เลือดที่ออกผิดปกติอาจเกิดจากการทำงานของรังไข่ไม่ดี ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุลจึงเกิดเลือดออกผิดปกติ แต่อย่างไรก็ตาม เราต้องระวังโรคร้ายและอื่นๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

                อาการสำคัญที่บ่งชี้ว่าอาจเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก คือ การตกเลือดในสตรีที่อายุมากกว่า 35 ปี โดยเฉพาะการตกเลือดในสตรีที่อายุเกินกว่า 50 ปี หรือหมดประจำเดือนแล้ว การตกเลือด หรือประจำเดือนที่ออกมาผิดปกตินั้น อาจมีลักษณะที่ออกมาก ออกนาน  ออกไม่ตรงรอบเดือน

                สตรีที่อาจเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้บ่อย คือ สตรีที่อ้วน มีประวัติได้รับฮอร์โมนทดแทนหมดประจำเดือน มีประวัติการรักษาด้วยการฉายแสง หรือใส่แร่ในอุ้งเชิงกราน ละมีประจำเดือนแม้อายุจะมากกว่า 50 ปี

                การวินิจฉัย คือ ต้องได้รับการขูดมดลูก เอาชิ้นเนื้อมาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์

                ดังนี้ คุณทิพย์สุมล ต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็วนะคะ ถ้าตรวจชิ้นเนื้อในโพรงมดลูกแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ ก็สบายใจได้ แสดงว่าเป็นจากฮอร์โมนไม่สมดุล

                ในวัยหมดประจำเดือนผู้หญิงทุกคนต้องดูแลตัวเองให้มากขึ้น ทั้งในเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการรักษาอารมณ์ให้ผ่องใส

                ควรพบแพทย์เพื่อเช็คสุขภาพเป็นระยะ รวมทั้งการตรวจเลือด ตรวจภายใน ฯลฯ ถ้าพบความผิดปกติ แพทย์จะได้แนะนำให้รับประทานยา เช่น ฮอร์โมนทดแทน ยาเกี่ยวกับการป้องกันการเสื่อมของกระดูก ฯลฯ

 

ทำไมนมหลายสี แล้วสีไหนเหมาะกับลูก

2. นมแม่ทำไมมีหลายสีจังคะ บางครั้งที่สังเกตก็จะออกสีชมพู บางครั้งก็ออกสีเหลืองเพราะอะไรเหรอคะ แล้วนมแม่แต่ละสีจะมีรสชาติต่างกันไหมคะ เห็นบางครั้งลูกก็ไม่ยอมกิน พอดีเพิ่งมีลูกคนแรกนะคะ และไม่เคยรู้มาก่อนพอเอกับตัวเองก็เลยสงสัยค่ะ

คุณแม่จากแดนไกล

 

หมอต้องขอชมเชยคุณแม่มือใหม่มากที่เป็นคนช่างสังเกตจริงๆ น้ำนมแม่ในช่วงแรกๆ อาจใส แต่เป็นน้ำนมที่มีคุณค่ามาก เพราะนอกจากจะมีสารอาหารที่จำเป็นแกทารกแล้ว ยังมีแอนตี้บอดี้ คือภูมิคุ้มกันช่วยปกป้องลูกจากการติดเชื้อโรคต่างๆ  ต่อมาน้ำนมจะขุ่นขึ้น เป็นสีเหลืองขาวอมเหลือง ซึ่งก็มีประโยชน์มากเช่นกัน

                หมอหวังว่าคุณจะให้นมลูกแม่แก่ลูกได้สำเร็จ โดยไม่ต้องใช้นมขวด เพราะนมแม่ดีที่สุด ด้วยเหตุนานัปการ คือ

§     คุณค่าทางอาหาร นมแม่เหมาะกับเด็กเพราะเป็นนมคนซึ่งเหมาะกับคน ธรรมชาติปรับให้นมแม่แตกต่างกันไปได้ตามความต้องการของเด็ก และตามอายุเด็ก ส่วนประกอบของนมแม่จะต่างกันไปถ้าแม่คลอดก่อนกำหนด ครบกำหนด และเมื่อเด็กโตขึ้น มีโปรตีนที่เหมาะสมแก่ร่างกายทารก นมแม่เหมาะกับเอ็นไซม์ที่จะย่อย เหมาะกับความต้องการของสมองและการเจริญเติบโตของร่างกาย มีน้ำย่อย lipase สำหรับย่อยไขมันมี lecithin ในปริมาณที่มากกว่า มีเกลือแร่ที่ต่างจากนมวัวอย่างมาก

§     คุณค่าทางการป้องกันโรค นมวัวไม่มีทางเทียบนมแม่ได้ นมวัวมีสารป้องกันโรคต่อเมื่อใช้กับลูกวัว (ซึ่งดูดนมจากตัวแม่วัว) แต่ไม่เหมาะกับคน ถูกทำลายหมดในการทำเป็นนมผง

§     คุณค่าทางการป้องกันภูมิแพ้ นมแม่มีคุณสมบัติป้องกันโรคภูมิแพ้ในรายที่ป้องกันไม่ได้ อย่างน้อยก็จะเลื่อนการแพ้ออกไป เช่น กลุ่มอาการภูมิแพ้ในเด็กที่เสี่ยงต่อหอบหืด แพ้อาหาร เมื่อให้กินนมแม่ และเลี้ยงในสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีสารที่ทำให้แพ้ ถ้าแม่พยายามรับประทานอาหารที่ทำให้แพ้น้อย ลงในระยะตั้งครรภ์ และในระยะให้นมลูกและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว จะช่วยลดอุบัติเหตุของกลุ่มอาการแพ้ในลูกได้

§     คุณค่าทางจิตวิทยาได้ประโยชน์ทั้งแม่และลูกคือ ได้ความสัมพันธ์ที่ดี แม่เริ่มมีความผูกพันกับลูกตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ และผูกพันมากขึ้น เมื่อได้เลี้ยงลูกด้วยนมของตนเอง

 

ตัวย่อช่วยความจำเกี่ยวกับประโยชน์ของนมแม่

3 ส = สะดวก สะอาด สารอาหารครบถ้วน

3 ป = ประหยัด ปลอดภัย ป้องกันกลุ่มอาการโรคแพ้

5 ค = ความรัก ความอบอุ่น คุ้มกันโรค คุมกำเนิด (6 สัปดาห์แรก) ความภูมิใจ

7 ม = (ลูก) ไม่อ้วน (ลูก) ไม่เป็นหูน้ำหนวกบ่อย มนุษยสัมพันธ์ดี ไม่มีอุจจาระร่วงบ่อย แม่ไม่เป็นพะโล้ มดลูกเข้าอู่เร็ว แม่ไม่เป็นมะเร็งเต้านมมากเท่าแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมวัว

3 เบ็ดเตล็ด = ย่อยง่าย ระบายขี้เทา สมองเจริญเติบโตดีกว่า (มีโอกาสฉลาดกว่า)

                คุณแม่มือใหม่บอกว่า น้ำนมจะออกสีชมพูอันนี้หมอคิดไม่ออก คงต้องเดาว่าอาจมีหัวนมแตกแล้วมีเลือดปนหรือเปล่า ส่วนสีขุ่นๆ ขาวๆ เหลืองๆ น่าจะเป็นสีปกติของนม หมอว่าสีของน้ำนมน่าจะขึ้นกับอาหารที่แม่กินด้วย ถ้าแม่กินอาหารที่มีไขมันสูง ปริมาณไขมันในนมก็น่าจะสูง สีของน้ำนมอาจต่างจากน้ำนมของแม่ที่ขาดอาหารก็ได้ อันนี้หมอเดาเอง รสชาติน้ำนมแต่ละสีจะแตกต่างกันหรือไม่ หมอก็เดาว่า น่าจะหอมอร่อยพอๆ กัน แต่รสชาติจะเป็นที่ถูกใจของคุณแม่มือใหม่หรือไม่คงต้องชิมดูเอง

 

ไหง...คลอดตอนครรภ์ 7 เดือนดีกว่า 8 เดือน

3. โอกาสรอดของเด็กในการตั้งครรภ์แปดเดือนจะมีน้อยกว่าเด็กเจ็ดเดือน จริงหรือเปล่าคะ และส่วนใหญ่เป็นเพราะสาเหตุใด รบกวนคุณหมอช่วยตอบทีนะคะ ได้ยินมานานแล้วเลยสงสัยนะคะ ขอบคุณค่ะ

คุณแม่มือใหม่, กรุงเทพฯ

 

หมอว่าเด็กที่ยิ่งอายุครรภ์สูงยิ่งมีโอกาสรอดกว่า เด็กที่อายุครรภ์น้อยเพราะอวัยวะต่างๆ ทำหน้าที่สมบูรณ์มากกว่าดังนั้น เด็กที่อยู่ในครรภ์แปดเดือนน่าจะมีโอกาสรอดมากกว่าเด็กที่อยู่ในครรภ์เจ็ดเดือน ในบางกรณีที่หมอจำเป็นต้องผ่าตัด ให้ลูกคลอดก่อนกำหนด หมอต้องฉีดยาบางอย่างเข้าตัวแม่ เพื่อช่วยให้ปอดลูกสมบูรณ์ก่อนคลอด เพราะเด็กที่คลอดก่อนกำหนดเพราะมีปัญหาด้านระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะปอดยังทำงานได้ไม่เต็มที่ แต่ถ้าลูกอยู่ในครรภ์มารดานานเกินไปก็ไม่ดี ปกติคนเราจะตั้งครรภ์40 สัปดาห์ ก็จะครบกำหนดคลอด แต่หมอจะบวกลบให้อีกสองอาทิตย์คืออาจคลอดที่ 38 สัปดาห์หรือคลอดที่ 42 สัปดาห์ก็ได้ ถือว่าปกติ แต่ถ้าคลอดหลัง 42 สัปดาห์ อาจมีปัญหาเนื่องจากการทำงานของรกเริ่มเสื่อม ดังนั้นจะส่งผ่านอาหารจากแม่ไปสู่ลูกได้ไม่ดี ทำให้ลูกขาดสารอาหาร หมอจึงต้องเร่งให้คลอดออกมา เพราะไม่เช่นนั้นเด็กจะขาดอาหาร และมีปัญหาอื่นๆ ตามมาได้

 

กลัวท้องอีก จะคุมยังไงดี

4. หลังจากคลอดลูกให้นมลูกประมาณ 3 เดือน ก็ทานยาคุมมาตลอด แต่ทำไมถึงมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ ได้ล่ะคะ อ้อ! ดิฉันร่วมเพศกับสามีมาได้เดือนกว่าแล้วค่ะ จะท้องอีกหรือเปล่าคะ หรือว่าแพ้ยาคุม แต่ยาคุมยี่ห้อนี้ก็ทานเป็นประจำตั้งแต่ก่อนคลอดลูกแล้วก็ไม่มีปัญหาอะไร ดิฉันไม่กล้าไปพบหมอค่ะ กลัวว่าจะท้องอีก เพราะลูกคนแรกกว่าจะแพ้ก็ปาไปตั้งห้าเดือนแล้ว คุณหมอกรุณาตอบให้ดิฉันหายข้องใจทีนะคะ ขอบคุณค่ะ

คนขี้กังวล, ประจวบฯ

 

การให้ลูกกินนมแม่จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้แต่ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ จะป้องกันได้ดีในช่วงแรกๆ(ประมาณ6สัปดาห์แรก)ดังนั้นหลังจาก6สัปดาห์ก็ควรเริ่มกินยาคุมกำเนิดถ้ามีเพศสัมพันธ์ และควรกินยาคุมกำเนิดอย่างถูกต้อง และไม่ลืมกิน ถ้าลืมกินก็ต้องตั้งครรภ์ได้ คุณอาจแพ้ยาคุมหรือตั้งครรภ์ก็ได้ ถ้าประจำเดือนยังไม่มาก็ควรตรวจปัสสาวะเช็คการตั้งครรภ์ ถ้าพบว่าตั้งครรภ์จะได้เลิกกินยาคุม อย่ามัวแต่กลัวเลยค่ะ ให้รีบไปหาหมอถ้ารู้ว่าตั้งครรภ์ จะได้ดูแลตัวเองและลูกในครรภ์ให้ดีขึ้น ถ้าไม่ตั้งครรภ์จะได้เลิกกังวลและกินยาคุมต่อไป

 

ตั้งครรภ์ท้องสองเมื่อไหร่ดี

5. หลังคลอดลูกแล้ว มีเพศสัมพันธ์จะมีโอกาสท้องหรือเปล่าคะ ถ้าไม่ได้ทานยาคุมกำเนิด แต่ให้ลูกหย่านมแล้ว

 

คุณตั้งครรภ์ได้แน่นอน เพราะไม่ได้คุมกำเนิดแถมยังไม่ได้ให้ลูกกินนมแม่อีก ปกติเขาจะห้ามไม่ให้มีเพศสัมพันธ์ 6 สัปดาห์ก่อนคลอด เพราะกลัวการติดเชื้อช่วงหลังคลอดใหม่ๆ สังเกตได้จากมีน้ำคาวปลา มดลูกยังไม่พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ แต่หลัง 6 สัปดาห์ แล้วมดลูกเข้าอู่แล้ว ก็พร้อมที่จะตั้งครรภ์ได้อีก ถ้าไม่ได้คุมกำเนิด การให้นมแม่เป็นการคุมกำเนิดตามปกติอย่างหนึ่ง แต่ก็ใช้ได้เฉพาะช่วงแรกๆเท่านั้น

Related items

ความเห็น (5)Add Comment
0
หญิงสระแก้วค่ะ
November 21, 2016
182.232.186.243
Votes: +0
...

สวัสดีค่ะคุณหมอ พอดีว่าเมื่อตอนเดื

0
This e-mail address is being protected from spam bots, you need JavaScript enabled to view it
November 08, 2009
125.24.29.109
Votes: +0
...

รบกวนคุณหมอช่วยตอบที

0
This e-mail address is being protected from spam bots, you need JavaScript enabled to view it
November 08, 2009
125.24.29.109
Votes: +0
...

มีวิธีรักษาหรือเปล่าคะหมอ

0
This e-mail address is being protected from spam bots, you need JavaScript enabled to view it
November 08, 2009
125.24.29.109
Votes: +0
...

อยากมีลูกจะทำอย่างไรดีเหราะคยท้องแล้วต้องเอาลูกออกเพระหมอบอกว่าครรภ์เป็นพิษถ้าตั้งท้องอีกจะเป็นอี่กหรือเปล่ารบกวนช่วยตอบทีคะขอบคุณมากคะ

0
กังวนใจจากปากคนอื่นพูด
July 05, 2009
218.186.14.216
Votes: +0
...

คุณหมอคะคือลูกของดิฉันคลอดออกมา แล้วมีฟันด้านหน้าสองซี่เล็กๆโพ่ขึ้นมานิด จริงๆแล้วเด็กห้าหกเดือนฟันถึงจะขึ้น แต่ทำไมลูกของดิฉันฟันขึ้นตอนแรกคลอด บ้างคนก็บอกว่าไม่ดีตามคำเชื่อของคนโบราณ หาว่าเป็นการกีณีบ้าง อีกบ้างคนก็ว่าดี แล้วแต่ความเชื่ออะคะ คนที่บอกว่าไม่ดีบอกให้พาลูกไปถอนฟันออก แตถึงงัยดิฉันก็ไม่พาลูกไปถอดออกหรอกคะ อยากทราบคำแนะนำจากหมอคะ

เขียนแสดงความเห็น
 
  smaller | bigger
 

busy
 
< Prev   Next >
นิตยสาร M&C แม่และเด็ก ฉบับที่ 558 มีนาคม - เมษายน 2564