หมวดหมู่บทความ พบคุณหมอเด็ก คลินิกหมอเด็ก

Search by tag : พบคุณหมอเด็ก, คลินิกหมอเด็ก, ห่วงน้องติดคางทูมจากพี่


อันตรายจากแมลงก้นกระดก PDF Print E-mail
Written by Administrator   
Monday, 05 June 2017
“แมลงชนิดนี้ชอบไฟในเวลากลางคืน ดังนั้นไม่ควรเปิดไฟแรงสูงทิ้งไว้ เพราะแสงไฟจะล่อแมลงเข้ามา”

          อยากทราบวิธีปฐมพยาบาลหากถูกพิษแมลงก้นกระดกค่ะ แล้วส่วนใหญ่พบตามพื้นที่ใดบ้างคะ
“แมลงก้นกระดก หรือที่เรียกว่า ด้วงก้นกระดก จะพบค่อนข้างมาก โดยเฉพาะตามพื้นที่ป่าเขา ตามบ้านเรือนทั่วไป แต่ถ้าเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ จนรบกวนพื้นที่อาศัยของแมลงก้นกระดกที่อยู่ตามต้นไม้ ตามป่า ตามรังดิน ก็อาจจะหนีมาอาศัยในบ้านเรือนของคน ดังนั้น พื้นที่ในโซนภาคใต้ที่มักจะมีน้ำท่วมบ่อย จึงมีการระบาดของแมลงก้นกระดก ในหลายจังหวัด อาทิ จังหวัดชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง เป็นต้น12.jpg

          ทางสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยจึงขอฝากเตือนประชาชนทั่วไปว่า ให้ระมัดระวังจากแมลงชนิดนี้ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลท่องเที่ยว อาจจะพบแมลงชนิดนี้อยู่ภายในที่พักตามรีสอร์ท บ้านพักอุทยาน สำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยว ที่นิยมเที่ยวป่าเขา หรือพักตามรีสอร์ท กางเต๊นท์นอน ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ             
สำหรับผู้ที่โดนพิษแมลงก้นกระดก เมื่อโดนแล้วจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน และมีผื่นแดงตามผิวหนัง  ผื่นที่เกิดจากแมลงชนิดนี้ ไม่ได้เกิดจากการที่มันกัดหรือต่อย แต่เกิดจากการที่ไปโดนแล้วบี้ทำให้สารเคมีในตัวแมลงชื่อ paederin ออกมาทำให้ผิวหนังบริเวณที่สัมผัสไหม้ เป็นรอยแปลกๆ ตามที่มือไปสัมผัส อาจเป็นเส้นเป็นทาง ทำให้คิดว่าเป็นงูสวัดหรือเริม บางครั้งพบลักษณะเฉพาะของโรคนี้ คือ kissing lesion คือ ถ้าเป็นที่ข้อพับจะเกิดผื่นที่เหมือนกันในด้านตรงข้าม ส่วนใหญ่มักโดนเวลากลางคืน ซึ่งโรคผิวหนังอักเสบจากแมลงก้นกระดกชนิดนี้ไม่ได้เป็นโรคใหม่  มีการพบในประเทศไทยหลายสิบปีแล้ว แต่ก่อนนี้มักพบบ่อยตามชานเมืองที่มีหนองน้ำ แต่ปัจจุบันพบบ่อยขึ้นทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพฯและในทุกฤดูกาล

          สำหรับการรักษาเบื้องต้นเมื่อโดนแมลงหรือเกิดอาการปวดแสบปวดร้อน ให้ล้างด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง หรือใช้แอมโมเนียทาบริเวณที่โดนแมลงจะลดอาการแสบร้อนได้ ถ้าเป็นผื่นน้อยๆ จะหายไปเองได้ แต่ถ้ามีการติดเชื้อแทรกซ้อน ต้องให้ยาปฎิชีวนะทาหรือรับประทานด้วย

          การป้องกัน ถ้ามีแมลงมาเกาะพยายามอย่าตบ บดขยี้บนลงผิวหนังให้ปัดออกหรือกำจัดโดยวิธีอื่น หรือถ้าจะจับออกให้ใช้เทปกาวติดตัวแมลงออกมา นอกจากนี้แมลงชนิดนี้ชอบไฟในเวลากลางคืน ดังนั้นไม่ควรเปิดไฟแรงสูงทิ้งไว้ เพราะแสงไฟจะล่อแมลงเข้ามา จากการทดลองพบว่า แมลงจะชอบเข้ามา ถ้าใช้แสงไฟนีออนหรือหลอดไฟที่มีแรงเทียนสูงกว่า 40 วัตต์ ดังนั้น ประตูหน้าต่างควรบุด้วยมุ้งลวดที่มีความถี่มากๆ เพื่อให้แมลงเข้ามาไม่ได้ หมั่นทำความสะอาดผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ก่อนนอนมองหาตามผนังและเพดานใกล้หลอดไฟ ก่อนใส่เสื้อผ้าควรสะบัดให้แน่ใจว่าไม่มีแมลงติดอยู่ และควรปิดประตูหรือหน้าต่างให้ดีก่อนที่จะเข้านอน”

รศ.นพ.นภดล นพคุณ
นายกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย
ความเห็น (0)Add Comment
เขียนแสดงความเห็น
 
  smaller | bigger
 

busy
 
< Prev   Next >
นิตยสาร M&C แม่และเด็ก ฉบับที่ 558 มีนาคม - เมษายน 2564