หมวดหมู่บทความ เทิร์นโปรคุณแม่มือใหม่ New mom 2

Search by tag : เทิร์นโปรคุณแม่มือใหม่, New mom 2, ชุดชั้นใน...คุณแม่ท้อง


นักเจรจารุ่นจิ๋ว PDF Print E-mail
Written by Administrator   
Thursday, 28 September 2017
                กว่าที่เด็กเล็กๆ จะมีพัฒนาการทางภาษาและการพูดได้นั้น จะต้องอาศัยความช่วยเหลือจากบุคคลแวดล้อมอย่างพ่อ แม่ พี่เลี้ยง อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยในระยะแรกเด็กจะใช้การร้องไห้เพื่อบอกความต้องการของตนเอง ต่อมาเขาจึงเริ่มเลียนเสียงสิ่งที่อยู่รอบๆ ได้ ในช่วงนี้ ถ้าเด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เช่น คุณแม่คุยเล่นกับเขาบ่อยๆ  ลูกก็จะสร้างระบบของภาษาและการพูดของตนเองขึ้นโดยอาศัยแบบอย่างที่ได้ยินจากผู้ใหญ่นั่นเอง

 

                เมื่อเด็กได้ทดลองใช้ภาษาที่ตนเองสร้างขึ้น  เขาก็จะออกเสียงได้มากขึ้น จนกระทั่งเปล่งเสียงบอกกิริยาอาการ เรียกชื่อสิ่งของหรือคนที่อยู่รอบตัวเขาได้อย่างถูกต้อง เช่น เวลากินอาหาร จะออกเสียงว่าหม่ำๆ  ครั้นพอเห็นคุณแม่ก็ส่งเสียงเรียก มาม้า แม้จะต้องใช้เวลาสักหน่อย แต่ในไม่ช้าลูกของคุณแม่ก็จะสามารถที่จะเรียนรู้ ที่จะใช้การพูดสื่อสารกับผู้อื่นได้ในที่สุด และเมื่อถึงเวลานั้น คุณคงต้องเตรียมรับคำถามว่าทำไม? อะไร? อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แล้วเราคงต้องเปลี่ยนมานั่งคิดกันว่า เมื่อไหร่ลูกจะเลิกพูดเลิกถามสักทีนะ
      

เคล็ดลับช่วยคุย

                - พูดกับลูกให้บ่อยขึ้น ขณะชวนลูกคุยควรย่อเข่าหรือนั่งลง เพื่อให้เขาได้สังเกตสีหน้าและปากของคุณขณะพูดคุย เปิดโอกาสให้ลูกพูดคุยโต้ตอบ ใจเย็นๆ รอ ขณะที่ลูกพยายามนึกคำพูด ไม่ควรรีบบอกว่า ลูกกำลังจะพูดอย่างนี้ใช่มั้ย อย่าเพิ่งเน้นว่าลูกต้องพูดชัดๆ นะ

- กระตุ้นให้ลูกสนใจฟังเสียงรอบๆ ตัว อย่างเสียงโทรศัพท์  เสียงรถ เสียงสัตว์เลี้ยง โดยชี้ชวนบอก และแสดงท่าทางอธิบายเมื่อลูกได้ยินเสียงนั้น สอนคำง่ายๆ ให้ลูกก่อน พูดกับลูกอย่างชัดถ้อยชัดคำ แต่ไม่จำเป็นต้องพูดช้าเกินไป

- ในช่วงของการฝึกพูดคุณแม่คุณพ่อควรใช้ภาษาเดียวกันในการสื่อสารกับลูกไปก่อน เพราะการที่คุณแม่คุณพ่อพูดกันคนละภาษาจะทำให้ลูกสับสน และพูดช้าได้

แสดงแบบ : ด.ญ.เบญจภรณ์ บัวเล็ก
ความเห็น (0)Add Comment
เขียนแสดงความเห็น
 
  smaller | bigger
 

busy
 
< Prev   Next >
นิตยสาร M&C แม่และเด็ก ฉบับที่ 558 มีนาคม - เมษายน 2564