|
Written by Administrator
|
Monday, 26 March 2018 |
ยิ่งใกล้คลอดมากเท่าไหร่ ครรภ์ของคุณแม่ยิ่งขยายใหญ่ขึ้น ทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัด เคลื่อนไหวไม่ค่อยสะดวก นั่นเพราะทารกในครรภ์ตัวโตขึ้น จนดันกระบังลมคุณแม่ฃ จุกแน่นบริเวณยอดอก แม้ตอนนี้คุณแม่จะไม่แพ้ท้องแล้วแต่ก็อาจจะรับประทานอาหารไม่ค่อยได้อยู่ดี เพราะเจ้าตัวเล็กที่โตขึ้น จนไปเบียดพื้นที่กระเพาะอาหารและลำไส้ของคุณแม่เข้า ทำให้คุณแม่รับประทานอาหารได้น้อย รับประทานไปนิดเดียวก็รู้สึกจุกแน่น หรือท้องอืด วิธีป้องกันอาการนี้คือ หลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยาก อาหารมันๆ แล้วเวลารับประทานก็ทานเพียงแค่เกือบอิ่มก็พอ เพื่อที่จะได้ไม่รู้สึกอึดอัดเกินไป รอให้อาหารย่อยสักหน่อยค่อยรับประทานต่อดีกว่าค่ะ ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ การนั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิงให้หลังยืดตรงได้แล้วสูดหายใจเข้า-ออก ช้าๆ จะทำให้คุณแม่หายใจได้สะดวกขึ้นค่ะ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ส่วนการนอน คุณแแม่ควรนอนตะแคงค่ะ เพราะหากนอนหงาย นอกจากคุณแม่จะรู้สึกอึดอัดจนนอนไม่หลับแล้ว มดลูกก็จะไปกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ที่จะนำเลือดกลับสู่หัวใจ ทำให้เลือดกลับสู่หัวใจไม่สะดวก มีผลให้หัวใจของแม่เต้นเร็วขึ้น เกิดอาการใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ หน้ามืด และเลือดที่จะไปเลี้ยงมดลูกก็จะลดลงไปด้วย ปวดเมื่อยไปทั้งตัว ยิ่งช่วงใกล้คลอด คุณแม่ก็จะมีอาการปวดหลังมากขึ้น เนื่องจากน้ำหนักของมดลูกและน้ำหนักของตัวลูกในครรภ์ที่เพิ่มขึ้นมาก ทำให้ศูนย์ถ่วงของร่างกายคุณแม่เปลี่ยนไป คุณแม่จึงต้องแอ่นหลังเพื่อให้เกิดสมดุลโดยอัตโนมัติ ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังตามมา และนอกจากการปวดหลังแล้ว บริเวณที่มักเกิดอาการปวดนอกจากที่เอวและหลังแล้ว เอว ก้นกบ ต้นขา หัวหน่าว ก็มักมีอาการปวดได้เช่นกันค่ะ วิธีจัดการกับอาการปวดหลังนั้น จริงๆ แล้วควรเริ่มป้องกันตั้งแต่ตอนที่ท้องยังไม่ขยายใหญ่มาก โดยฝึกท่าทางการยืน การนั่งให้ถูกต้อง เช่น เวลายืนไม่ควรยืนในท่าที่หลังแอ่นเกินไป พยายามดึงสะโพกมาด้านหน้าและยืดไหล่ให้ตรง สวมรองเท้าส้นเตี้ยๆ เวลานั่งควรพยายามนั่งหลังตรง ก้นชิดพนักเก้าอี้ ลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ อย่าอยู่ในท่าเดิมนานๆ และควรนั่งในท่าที่เข่าสูงกว่าสะโพกเล็กน้อย ก็จะลดอาการปวดได้ค่ะ
ทำไมหนูไม่ค่อยดิ้น? ไตรมาสนี้ไม่ใช่แค่คุณแม่เท่านั้นที่รู็สึกอึดอัด ลูกน้อยเองก็เช่นกันค่ะ คุณแม่จะพบว่า ตอนอายุครรภ์ 7 เดือน ลูกจะดิ้นแรงมากขึ้น แต่พอยิ่งใกล้คลอด แรงดิ้นของเขาลดฃลง นั่นเพราะก่อนหน้านั้นขนาดตัวของเขายังเล็ก จึงมีพื้นที่ว่างในท้องคุณแม่ให้เค้าดิ้นได้เต็มที่ แต่พอใกล้คลอด ตัวเขาก็โตจนขยับไม่ค่อยสะดวก คุณแม่จึงรู้สึกว่าความแรงในการเคลื่อนไหวของเขาน้อยลง แสดงแบบ : คุณวิมล คำจีน ฟรานทร์
|
|
|
|
|
|