หมวดหมู่บทความ เจริญเติบโตแข็งแรง แรกเกิด – 3 เดือน

Search by tag : เจริญเติบโตแข็งแรง, แรกเกิด – 3 เดือน, ฟูมฟัก ลูกคลอดก่อนกำหนด


ภาวะตัวเหลืองของเบบี๋...ต้องเฝ้าระวัง PDF Print E-mail
Written by Administrator   
Monday, 07 September 2009
01.jpgอาการตัวเหลืองในทารกหลังคลอดก็เป็นอีกภาวะที่พบได้บ่อยมากในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากสาเหตุต่างๆ ได้หลากหลาย ก็เป็นคำถามที่น่าสงสัยอย่างหนึ่งที่สร้างความกังวลให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่เป็นอย่างมาก ที่ยังไม่ทราบถึงสาเหตุความเป็นมาของอาการผิดปกติเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน
อาการตัวเหลืองคือ??             เมื่อแรกเกิด เบบี๋จะมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า บิริลูบิน ( Bilirubin) ในเลือดสูง แต่จะถูกขับออกจากร่างกายโดยตับ ซึ่งในช่วงแรกเกิดตับยังทำงานได้ไม่_DSC8500.jpgเต็มที่ จึงทำให้ลูกมีอาการตัวเหลืองภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด  โดยจะเริ่มปรากฏขึ้นที่ใบหน้าก่อน แล้วค่อยๆ ไล่ลงมาลำตัวจนถึงขาและเท้า ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับทารกแรกเกิดประมาณ 6 ใน 10 คน และมักจะเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 3 - 4 หลังคลอด แต่จะค่อยๆ ลดระดับความเหลืองหรือจางหายไปปลายสัปดาห์ที่ 1 จึงนับว่า เป็นเรื่องปกติ ไม่ร้ายแรงอะไร
นมแม่..สารอาหารธรรมชาติ
            ควรให้เบบี๋ดูดนมอย่างเพียงพอตามความต้องการ โดยเฉพาะในระยะสัปดาห์แรกน้ำนมเหลืองจะช่วยในการขับขี้เทา (meconium) และช่วยบรรเทาอาการตัวเหลืองให้ดีขึ้นได้ แต่ก็มีบางกรณีที่เบบี๋ตัวเหลืองเพราะเกิดจากสารบางอย่างในน้ำนมแม่ แต่ภาวะที่เกิดจากน้ำนมแม่นั้นไม่ทำให้เบบี๋มีอันตรายแต่อย่างใด โดยอาจพบภาวะดังกล่าวในปลายอาทิตย์แรก และอาจเหลืองนานเกิน 7 - 10 วันได้ค่ะ
ตัวเหลืองอย่างไหน...ถึงอันตราย
            หากมีสารเหลืองสูงในระดับที่อาจเป็นอันตราย สารนี้สามารถเข้าไปที่สมองได้ อาจทำให้เกิดความพิการทางสมอง (KERNICTERUS) และมีผลต่อการได้ยินของเบบี๋ได้ค่ะ ดังนั้นถ้ายังคงมีอาการตัวเหลืองรุนแรงนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยว่า เกิดจากความเจ็บป่วยที่รุนแรงหรือสาเหตุอื่นๆ หรือไม่
ทั้งเกิดจากการที่เม็ดเลือดแดงในร่างกายมีการแตกทำลายเร็วกว่าปกติ ซึ่งก็มีสาเหตุหลายอย่างด้วยกัน เช่น คลอดก่อนกำหนดหรือใช้เครื่องดูดเป็นตัวช่วย กรุ๊ปเลือดแม่และลูกไม่ตรงกัน และการทำงานของตับยังไม่สมบูรณ์หรือโรคกรรมพันธุ์บางอย่างของตับ รวมทั้งมีการอุดตันในทางเดินอาหาร ลำไส้ หรือท่อน้ำดี สารสีเหลืองจึงขับออกมาไม่ได้ แต่กรณีนี้พบได้น้อยรายมากค่ะ
การรักษาอาการตัวเหลือง
        สำหรับอาการตัวเหลืองที่เกิดจากความผิดปกติดังกล่าว ตามหลักทั่วไปจะมีวิธีรักษาหลักๆ อยู่ 2 วิธีค่ะ คือ การรับแสงอัลตราไวโอเล็ตจากเครื่องฉายแสง ( Phototherapy) ซึ่งเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโมเลกุลของบิลิรูบิน ทำให้ระดับบิลิรูบินลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ในเบบี๋บางรายอาจมีอาการที่รุนแรงมาก ก็อาจต้องได้รับการถ่ายเลือด มิฉะนั้นอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ค่ะ

เฝ้าระวังให้ตรงจุด...คุณก็ทำได้
กรณีทารกบางคนก็สังเกตเห็นได้ชัดเจนว่ามีภาวะตัวเหลือง แต่กรณีที่ไม่แน่ใจ ก็มีวิธีทดสอบง่ายๆ คือ ลองเปิดไฟให้ห้องมีแสงสว่างพอ จากนั้นให้คุณแม่ใช้นิ้วมือกดลงบนผิวหนังของเบบี๋ เมื่อปล่อยมือกลับเห็นเป็นสีเหลือง แทนที่จะเป็นสีขาวซีด ยิ่งหากเห็นชัดเจนบริเวณใบหน้าลงมาจนถึงท้อง ควรพาไปพบหมอ ที่สำคัญห้ามปฏิบัติตามความเชื่อเก่าๆ ที่มักแนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ อาจมีผลเสียทำให้เบบี๋ดูดนมได้น้อยลง หรือกระทั่งการนำตัวไปผึ่งแดด ปัจจุบันก็ไม่แนะนำกันแล้วค่ะ

light-bulb-glowing-filament-light-blue-uncropped-3-AHD.jpg
ให้การรักษาทารกอย่างไร 
          ทารกที่มีสารเหลืองสูงในระดับที่อาจเป็นอันตรายได้ จะได้รับการเปลี่ยนถ่ายเลือด ร่วมกับการส่องไฟ สำหรับทารกที่ยังไม่เข้าขีดอันตราย หมอจะนำทารกไปส่องไฟ โดยวางทารกลงบนเตียงเด็กใสๆขนาดพอดีสำหรับทารกดิ้นได้บ้าง ไม่สวมเสื้อผ้าทารก อาจจะมีเพียงผ้าอ้อมผืนเล็กๆปิด เพื่อกันทารกปัสสาวะเลอะเทอะเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้ทารกได้มีพื้นผิวที่จะได้รับแสงไฟชนิดพิเศษมากที่สุด
หลอดไฟชนิดนี้มีลักษณะคล้ายหลอดนีออนส่องสว่างทั่วไป แต่จะให้แสงสีฟ้าที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับบิริลูบิน แสงสีฟ้านี้จะไปเปลี่ยนโครงสร้างบิริลูบินให้เป็นโครงสร้างที่ตับจะสามารถกำจัดออกไปจากร่างกายได้ง่ายขึ้น ทารกอาจมีสีผิวที่คล้ำลงไปบ้างคล้ายนอนอาบแดดแต่ก็จะกลับมาเป็นปกติในที่สุด
การส่องไฟรักษานี้ทารกจะได้รับการดูแลใกล้ชิด ระวังโดยปิดตาทั้ง 2 ข้างไม่ให้ได้รับแสงส่องเข้าตา เฝ้าระวังภาวะขาดน้ำโดยการชั่งน้ำหนักวันละ 1-2 ครั้ง ตรวจปริมาณปัสสาวะ ตรวจวัดระดับสารเหลืองเป็นระยะ ทารกอาจต้องส่องไฟเป็นเวลาหลายวันจนกว่า ระดับสารเหลืองลดลงจนถึงระดับที่ไม่น่าจะเกิดอันตรายกับทารกได้
ระหว่างที่ทารกได้รับการส่องไฟอาจจะร้องดิ้นบ้าง เนื่องจากถูกปิดตา บางรายก็อาจจะหลับสบาย บ้างอาจมีอาการถ่ายเหลวและถ่ายบ่อยได้ บางรายอาจมีผื่นขึ้นจากแสงและความร้อน แต่อาการทั้งหมดจะหายไปเมื่อหยุดส่องไฟ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรกังวลใจและไม่ควรอุ้มทารกออกจากการส่องไฟบ่อยๆ  เพราะอาจเป็นเหตุให้ลูกต้องอยู่โรงพยาบาลนานกว่าปกติ เนื่องจากระดับสารเหลืองไม่ลดลงพ้นขีดอันตราย

แสดงแบบ ด.ช.นรภัทร ประกาศพร (น้อง NJ) และคุณแม่ยา - จริยาพร

Related items

ความเห็น (3)Add Comment
0
TANxx
July 16, 2015
49.230.129.163
Votes: +0
...

อ่านเเล้วสบายใจ ขอบคุณมากครัชป๋ม

0
แพร ศรีสม
March 17, 2015
27.145.118.170
Votes: +1
...

ลูกชายได้ 9 เดือน ตัวเหลืองเกี่ยวกับ
อาหารที่ทำให้เด็กท
านรือป่าวค่ะ
เพราะต้มแครอท+บล็อก
คอลลี่+มันฝรั่ง+ฝัก
ทอง บดให้ทานทุกวัน

0
วิรัล แท่นวัฒนกุล
May 18, 2010
119.31.9.84
Votes: +0
...

เป็นบทความที่ดีมาก อ่านง่ายและเข้าใจมากขึ้นจะได้ไม่วิตกกังวล ขอบคุณทีมแพทย์ด้วยครับsmilies/smiley.gif

เขียนแสดงความเห็น
 
  smaller | bigger
 

busy
 
< Prev   Next >
นิตยสาร M&C แม่และเด็ก ฉบับที่ 558 มีนาคม - เมษายน 2564