หมวดหมู่บทความ เจริญเติบโตแข็งแรง แรกเกิด – 3 เดือน

Search by tag : เจริญเติบโตแข็งแรง, แรกเกิด – 3 เดือน, ฟูมฟัก ลูกคลอดก่อนกำหนด


ตรวจคัดกรองการได้ยิน จำเป็นจริงหรือ? PDF Print E-mail
Written by Administrator   
Wednesday, 03 March 2010
                มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาเรื่องการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด และเด็กที่มีปัญหาเรื่องการได้ยินก็นำไปสู่ปัญหาด้านการพูด คือ เด็กจะพูดช้า หรือพูดไม่ได้ ตามโรงพยาบาลหลายแห่งจึงได้มีบริการการตรวจคัดกรองหาความผิดปกติตั้งแต่แรกคลอด เพื่อที่จะนำไปสู่หนทางรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

 

ตรวจคัดกรองการได้ยิน
คือ การตรวจหาเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งสามารถตรวจได้ตั้งแต่แรกเกิด และในเด็กที่มีกลุ่มเสี่ยง แพทย์จะพิจารณาให้ตรวจคัดกรองการได้ยิน แต่เด็กที่ไม่ได้อยู่ในภาวะเสี่ยงก็ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของพ่อแม่ค่ะ
เด็กกลุ่มเสี่ยง
คือ  พิจารณาจากแม่ที่ได้รับเชื้อตอนตั้งครรภ์ เช่น เชื้อหัดเยอรมัน ไวรัสบางชนิด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือคุณแม่ที่ได้รับยาระหว่างตั้งครรภ์  และพิจารณาจากเด็กที่คลอดก่อนกำหนด ขาดออกซิเจนขณะทำคลอด คลอดออกมามีลักษณะของรูปร่างหน้าตาที่ผิดปกติ น้ำหนักตัวน้อย และยังต้องพิจารณาจากพันธุกรรมและประวัติครอบครัวด้วย    
ได้อะไรบ้างจากการตรวจคัดกรอง
จากสถิติของการตรวจคัดกรองเด็กแรกเกิดที่ได้รับการตรวจคัดกรอง จะพบว่ามีประมาณ 3% ที่ตรวจคัดกรองไม่ผ่าน แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กที่ตรวจคัดกรองไม่ผ่านนั้น จะมีความผิดปกติทางการได้ยิน เพราะฉะนั้น แพทย์จึงต้องนำเด็กที่ตรวจคัดกรองไม่ผ่านมาตรวจหาความผิดปกติทางการได้ยิน ซึ่งจะพบความผิดปกติจริงๆ เพียง 1ใน 1,000 คน ส่วนในเด็กกลุ่มเสี่ยงจะพบความผิดปกติ 1-3 ใน 100 คนที่พบความผิดปกติจริงๆ

การตรวจคัดกรอง มี 2 วิธีคือ
1.การตรวจเพื่อวัดการทำงานของหูชั้นใน การวัดอวัยวะของหูชั้นใน จะง่าย และใช้เวลาน้อยกว่า
2. การตรวจโดยวัดการทำงานของประสาทหู ซึ่งอันหลังจะครอบคลุมมากว่า เครื่องมือที่ต้องใช้ในการตรวจ จะยุ่งยากมากขึ้น
การรักษา
อย่างที่ทราบว่าเด็กที่มีปัญหาเรื่องการได้ยิน จะทำให้มีผลต่อพัฒนาการด้านภาษา เด็กจะพูดไม่ได้ การที่พ่อแม่ให้เด็กได้รับการตรวจตั้งแต่แรกเกิด  ก็จะได้รับการฟื้นฟูเรื่องการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งจะช่วยในด้านพัฒนาการเรื่องการได้ยินและภาษาพูด  แต่จะต้องตรวจพบก่อนตั้งแต่ 6 เดือนถึงจะได้ผลดี ซึ่งถือเป็นข้อดีของการตรวจที่เราสามารถแก้ไขได้เร็วขึ้น


แสดงแบบโดย ด.ช.พบธรรม มณีนพรัตน์ และคุณแม


ความผิดปกติทางการได้ยิน สังเกตเมื่อใด อย่างไร

  1. ตรวจคัดกรองการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งจะทราบผลเบื้องต้น และการทราบตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้หาทางรักษาได้ทัน โดยเฉพาะก่อน  6 เดือนแรก
  2. สังเกตจากการตอบสนองต่อเสียง ในเด็กแรกเกิดทุกคนจะมีการตอบสนองต่อเสียงที่ดังๆ เช่น ตกใจร้อง หันหาเสียง แต่ก็ยังสังเกตได้ไม่มาก
  3. เด็กจะหันหาเสียงหรือตอบสนองจริงๆ คือ อายุประมาณ 6 เดือน และมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ มีการตอบสนองกับพ่อแม่ เมื่อมีการเล่นหยอกล้อกัน แต่ถ้าอายุประมาณ 7-8 เดือน เด็กไม่มีการตอบสนองใดๆ เลยต้องสันนิษฐานว่าผิดปกติไว้ก่อนและต้องได้รับการตรวจ
  4. เด็กที่อายุประมาณ 1 ขวบกว่าแล้วยังไม่พูดเลย ถือว่าผิดปติ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นความผิดปกติที่เด็กไม่พูดอาจจะมาจากสาเหตุอย่างอื่นที่ไม่ได้มาจากหูที่ผิดปกติ เช่น อาจจะมาจากการเลี้ยงดูที่ได้รับการกระตุ้นน้อย แต่ 50% ของเด็กที่ไม่พูดมาจากความผิดปกติทางหู อีก 30% มาจากสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู และ 20% มาจากการขาดการกระตุ้น


เมื่อคุณแม่ต้องการที่จะมีบุตร ควรจะมีการวางแผนก่อนเพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อม ตรวจร่างกายก่อนการตั้งครรภ์ ว่าคุณแม่มีโรคร้ายแรงหรือโรคประจำตัวหรือไม่ เพราะโรคบางอย่างจะส่งผลต่อตัวเด็ก ถ้าทราบก่อนจะได้หาทางป้องกันแก้ไขได้ และควรปฏิบัติตัวตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด


ขอขอบคุณ แพทย์หญิงสาวิตรี  ชลออยู่  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยิน โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช ศรีนครินทร์

ความเห็น (0)Add Comment
เขียนแสดงความเห็น
 
  smaller | bigger
 

busy
Last Updated ( Wednesday, 03 March 2010 )
 
< Prev   Next >
นิตยสาร M&C แม่และเด็ก ฉบับที่ 558 มีนาคม - เมษายน 2564