ซน สมาธิสั้น ปัญหาจากลูกนอนกรน |
|
|
|
Written by Administrator
|
Tuesday, 11 May 2010 |
“ในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น
อาจพบ ปัญหาพฤติกรรม ซนกว่าปกติ สมาธิสั้น ปัญหาการเรียน ปัสสาวะรดที่นอน เลี้ยงไม่โต
เป็นต้น หากมีอาการรุนแรงเป็นเวลานานๆ อาจเกิดโรคหัวใจล้มเหลวจากภาวะความดันโลหิตในปอดสูงได้”
น.พ.ฐิติกุล หิรัญรัศ
กุมารแพทย์
|
สังเกตมาหลายคืนแล้วค่ะว่าลูกมักจะนอนกรน
ทีแรกก็คิดว่าคงเหมือนพ่อเขา คือพ่อเป็นคนค่อนข้างนอนกรนและเสียงดังค่ะ แรกๆ
อาการกรนของลูกก็ไม่มาก เป็นบางครั้ง แต่หลายคืนนี้มักนอนกรนติดนาน และค่อนข้างนาน
เคยอ่านพบว่า อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ เพราะตอนนี้ลูกอายุ 3 ขวบเศษ
จึงอยากทราบว่า เราจะมีวิธีสังเกตอย่างไรคะ ว่าลูกนอนกรนปกติ หรือผิดปกติ และมีอาการแสดงออกอย่างไร
“การนอนกรนในเด็ก
เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ซึ่งในเด็กบางรายที่มีอาการรุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และเสียชีวิตได้ โดยเด็กที่นอนกรนเป็นประจำ
ควรได้รับการซักประวัติหาปัจจัยเสี่ยงและอาการของภาวะการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน
และการตรวจรักษาเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ OSA
...ซึ่ง OSA หรือ obstructive
sleep apnea คือ ภาวะที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน
มักเกิดเวลานอนหลับ มีผลทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ผิดปกติ
ทำให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจนและคุณภาพของการนอนหลับเสียไป
ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา ภาวะ OSA สามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ
ซึ่งอายุที่พบได้บ่อยที่สุดคือระหว่าง 2 - 4 ปี ประมาณคร่าวๆ ว่า
ราวครึ่งหนึ่งของเด็กที่นอนกรนเป็นประจำจะพบภาวะ OSA ร่วมด้วย
...โดยอาการของโรคที่พบบ่อย
ได้แก่ นอนกรนเสียงดัง หายใจเฮือก อ้าปากหายใจ มีการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ
ปากเขียวคล้ำ นอนกระสับกระส่าย ตอนเช้าปลุกตื่นยาก ง่วงนอนเวลากลางวัน
หลับในห้องเรียน ในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น อาจพบ ปัญหาพฤติกรรม ซนกว่าปกติ สมาธิสั้น
ปัญหาการเรียน ปัสสาวะรดที่นอน เลี้ยงไม่โต เป็นต้น หากมีอาการรุนแรงเป็นเวลานานๆ
อาจเกิดโรคหัวใจล้มเหลวจากภาวะความดันโลหิตในปอดสูงได้”
เมื่อพาเขาไปพบแพทย์
จะมีการตรวจอย่างไร และจะทราบได้อย่างไรลูกนอนกรนผิดปกติรุนแรงมากหรือน้อย
“แนวทางการตรวจวินิจฉัยในเด็กที่นอนกรน
ต้องแยกโรคว่าเป็นภาวะที่เด็กนอนกรนแต่ไม่มีความผิดปกติอื่น หรือเป็นภาวะ OSA
ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา โดยแพทย์จะถามประวัติการนอนกรน
การนอนหลับ พัฒนาการ การเรียน และโรคประจำตัวของเด็ก
และทำการตรวจร่างกายเพื่อตรวจหาความผิดปกติของทางเดินหายใจ ตรวจดูภาวะภูมิแพ้จมูก การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้นอนกรนได้
เช่น ไซนัสอักเสบ ทอนซินอักเสบ ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเพื่อประเมินการเจริญเติบโตของเด็ก
…สำหรับการตรวจวินิจฉัย ได้แก่ เอ็กซเรย์ดูขนาดของต่อมอะดีนอยด์และทอนซิน
ที่อาจมีผลต่อการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนได้ และในบางรายจำเป็นต้องรับตัวไว้ในโรงพยาบาลเพื่อตรวจการนอนหลับต่อเนื่องในเวลากลางคืนโดยตรวจดูระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด
ค่าคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจออก ด้วยการตรวจ pulse oximetry ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้น จากการตรวจดังกล่าว
แพทย์จะสามารถให้การวินิจฉัยโรค และเลือกการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยได้ ซึ่งมีทั้งการใช้ยา
หรือโดยการผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษา
จะเห็นผลโดยการนอนกรนเบาลงหรือหายไป และผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
...สำหรับวิธีการตรวจที่ดีที่สุด
คือ การตรวจ polysomnography
(PSG) ซึ่งเป็นการตรวจโดยละเอียดขณะนอนหลับ เช่นการตรวจคลื่นสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การไหลของอากาศ การเคลื่อน ไหวของทรวงอก และค่าอ๊อกซิเจน เป็นต้น หลังจากการตรวจดังกล่าว
จึงสามารถให้การวินิจฉัยภาวะ OSA และประเมินความรุนแรงของโรคได้
เพื่อเลือกการรักษาที่เหมาะสมที่สุดแก่ผู้ป่วยได้”
ควรดูแลลูกอย่างไรถ้าพบว่าเขามีความผิดปกติดังกล่าว
แนะนำด้วยค่ะ
“สำหรับทางเลือกในการรักษา อย่างแรกคือ การรักษาโดยการใช้ยา เช่น การใช้ยาพ่นจมูกเพื่อรักษาอาการภูมิแพ้จมูก
และทำให้ขนาดของต่อมอะดีนอยด์เล็กลง หรือการใช้ยาปฏิชีวนะในรายที่พบมีการติดเชื้อ ในรายที่มีอาการรุนแรง
ก็อาจต้องรักษาโดยการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์และต่อมทอนซิน
ในเด็กที่มีขนาดของต่อมดังกล่าวโต และมีการอุดกั้นทางเดินหายใจ รวมทั้งให้การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ
เช่น การลดน้ำหนักในเด็กอ้วน การใช้เครื่องช่วงหายใจแรงดันบวกขณะนอนหลับในผู้ป่วยเด็กบางราย
ซึ่งแพทย์จะทำการพิจารณาเลือกการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายครับ”
ขอขอบคุณ
โรงพยาบาลปิยะเวท
โทร.0-2625-6500
Related items
|
Last Updated ( Tuesday, 11 May 2010 )
|