หมวดหมู่บทความ คลินิคคุณแม่ คลินิกหมอสูติ

Search by tag : คลินิคคุณแม่, คลินิกหมอสูติ, เส้นเลือดขอดสร้างปัญหาให้แม่ท้องคลินิกหมอสูติ, พ.ญ.ปาริชาติ ธนะสิทธิชัย, เส้นเลือดขอดสร้างปัญหาให้แม่ท้อง, คลินิกหมอสูติ


ท้องสองยังต้องกังวลโรคหอบหืดหรือไม่ PDF Print E-mail
Written by Administrator   
Wednesday, 02 June 2010

นายแพทย์สัมพันธ์ ธนกิจจำรูญ

สูติแพทย์

ถามคุณหมอหน่อยค่ะ ที่บอกว่ารกยาวแล้วพันคอเด็ก ไม่ทราบว่าสังเกตอย่างไร แล้วป้องกันได้อย่างไร ลูกจะดิ้นบอกไหมคะ
“ภาวะรกพันคอ ส่วนมากแล้วมักเกิดจากการที่สายรกซึ่งเชื่อมโยงระหว่างตัวเด็กกับรกอาจจะยาวอย่างที่คุณแม่ถามนั่นแหละครับ ขณะเดียวกันก็อาจเกิดจากการที่เด็กทารกซึ่งลอยอยู่ในน้ำคร่ำดิ้นไปมา จนเกิดเป็นเงื่อนปมที่สายรก ทำให้การขนส่งออกซิเจน โดยสารอาหารถูกกระทบกระเทือน และยิ่งทารกดิ้นเพิ่มขึ้นเท่าไร เงื่อนปมก็จะยิ่งแน่นขึ้น อาจไปพันคอทารก แล้วรัดดึงจนทารกอาจหยุดดิ้นเพราะเสียชีวิตได้ครับ
...การสังเกตว่ารกยาวหรือไม่ สามารถทำได้โดยการอัลตร้าซาวนด์ครับ ซึ่งคุณหมอจะแจ้งให้ทราบ และคงจะให้คำแนะนำถ้าพบว่าคุณแม่มีรกยาวซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อเด็ก แต่การแก้ไขในระหว่างตั้งครรภ์คงทำไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องใช้การสังเกตโดยคุณแม่เป็นหลัก ซึ่งถ้าคุณแม่รู้สึกว่าเด็กไม่ดิ้นหรือดิ้นผิดปกติ ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่าน่าจะเป็นอันตรายต่อทารก ซึ่งการสังเกต ให้คุณแม่สังเกตว่าทารกจะต้องดิ้นให้รู้สึกประมาณ 3 ครั้งหลังคุณแม่ทานอาหาร และถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ทารกจะดิ้นรุนแรงมากจนสังเกตได้ ซึ่งถ้ามีอาการดังกล่าวก็ควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพื่อรับการดูแลแก้ไขทันทีครับ”
เป็นโรคหอบหืดมาตั้งแต่เล็กค่ะ ท้องลูกคนแรกก็ไม่มีอาการอะไร แต่ก็ไม่สบายใจมาตลอด จนมาตอนนี้มีลูกคนที่สองแล้ว ก็ยังกังวลเหมือนเดิมค่ะ ขอถามคำถามที่เคยถามกับลูกคนแรกนะคะ ลูกคนนี้จะมีอะไรที่ต้องกังวลหรือต้องให้การดูแลเป็นพิเศษไหมคะ
“โรคหอบหืดนั้น ส่วนมากแล้วถ้าเราควบคุมมันเอาไว้สำเร็จ ก็ไม่ค่อยมีพิษสงอะไรต่อทั้งแม่และลูกหรอกครับ แต่ถ้าคุมไม่อยู่ก็อาจเกิดปัญหาได้ทั้งต่อแม่และลูกในท้อง ซึ่งปัญหาที่อาจเกิดกับแม่ ก็เช่น ความดันโลหิตสูง ครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนด ปัญหาต่อลูกก็เช่น น้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด เจริญเติบโตช้า เป็นต้น
...ดังนั้น ถ้าแม่ตั้งครรภ์เป็นโรคหอบหืดอยู่แล้วก็จำเป็นต้องควบคุมให้ดี ส่วนหนึ่งเราสามารถควบคุมได้ด้วยยาต่างๆ ซึ่งแพทย์จะเลือกใช้ยาที่ปลอดภัยในแม่ตั้งครรภ์ โดยจะหลีกเลี่ยงสารที่ก่อภูมิแพ้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารชนิดที่พิสูจน์กันมาแล้วว่าแพ้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ด้วยการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังนั่นเอง และจะหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่อาจทำให้โรคหอบหืดของแม่ตั้งครรภ์กำเริบด้วย
...แต่ทั้งนี้การกำเริบของโรคหอบหืดในระหว่างตั้งครรภ์ มักจะมีประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเดิมกับท้องที่ผ่านมา ดังนั้น ที่คุณแม่เล่าว่าท้องก่อนสงบดี ไม่มีอาการอะไร ท้องนี้ก็น่าจะดีไปด้วย แม้จะไม่เป็นตามนี้ร้อยทั้งร้อยก็ตาม อย่างไรก็ดี หลังคลอดแล้วประมาณ 3 เดือน สถานการณ์ของโรคหอบหืดมักกลับสู่สภาพเดิมเหมือนตอนก่อนตั้งครรภ์ครับ
...อย่างไรก็ดี เพื่อความปลอดภัย สิ่งที่คุณแม่ควรทำคือ การช่วยตนเองเพื่อควบคุมโรคหอบหืด ไม่ว่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และสิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่น ละอองเกสรต่างๆ ทั้งจากดอกไม้ ดอกหญ้า แมลงสาบ สปอร์จากเชื้อรา ตัวไรฝุ่น รังแคจากสัตว์เลี้ยง เช่น แมว สุนัข เหล่านี้ล้วนแต่กระตุ้นให้โรคหอบหืดกำเริบได้ แล้วแต่ว่าใครแพ้อะไร และนอกจากสารก่อภูมิแล้ว ยังมีสารอื่นๆ ที่อาจทำให้โรคกำเริบได้ พวกนี้เรียกว่าสิ่งกระตุ้น เช่น ควันบุหรี่ มลพิษในอากาศ เขม่าควันจากท่อไอเสียและโรงงานอุตสาหกรรม ไอระเหยจากสารเคมี กลิ่นฉุนๆ เป็นต้น
...ก็จะแนะนำเพิ่มเติมว่า อย่างแรกเลย ไม่ควรมีสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสัตว์ที่มีขน เช่น แมว สุนัข และไม่ควรใช้หมอนผ้าห่มที่ทำจากขนสัตว์ ควรห่อหุ้มที่นอน หมอน ด้วยผ้ากันไรฝุ่น ซักเครื่องนอนในน้ำร้อนเพื่อกำจัดไรฝุ่น ทำความสะอาดบ้านเป็นประจำอย่างหมดจดทั่วทุกซอกทุกมุม อาจเปิดหน้าต่างแล้วเปิดเครื่องปรับอากาศแทนเพื่อป้องกันฝุ่นควันมลพิษต่างๆ หมั่นทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ อย่าเปิดอุณหภูมิเย็นจัด ไม่สูบบุหรี่ทั้งตัวเองและคนรอบข้าง พวกนี้เป็นมาตรการทั่วๆ ไป จริงๆ แล้วก็ยังมีรายละเอียดอื่นๆ อีกมาก ถ้ากังวลจริงๆ ก็ลองปรึกษาคุณหมอที่ได้ฝากครรภ์ก็ได้ครับ“
สาเหตุที่ทำให้การปวดท้องคลอดก่อนกำหนดมีอะไรบ้างคะ อยากทราบไว้เป็นความรู้ค่ะ รบกวนทีนะคะ
“ที่พบบ่อยๆ ก็คือ การที่ร่างกายสูญเสียน้ำไปมากครับ เช่น มีไข้สูง ท้องเสีย โดยเฉพาะสภาวะที่มีไข้ติดเชื้อในระบบขับถ่ายปัสสาวะจะพบบ่อยๆ เพราะในแม่ตั้งครรภ์ อุบัติการณ์เกิดการติดเชื้อในระบบปัสสาวะมากกว่าผู้หญิงที่ไม่ตั้งครรภ์หลายเท่าตัว และกระเพาะปัสสาวะนั้นก็อยู่ใกล้กับตัวมดลูก คือ วางอยู่ส่วนล่างของมดลูก ก็จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อตัวมดลูกโดยตรงได้
...อย่างไรก็ดี ในภาวะดังกล่าว ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน ควรรีบมาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุหรือที่มาของเลือดผิดปกติ ซึ่งส่วนมากจะพบว่าเกิดจากฉีกขาดของชายรก ทำให้มีการไหลของเลือดออกมาจากตัวรกซึ่งเป็นเลือดของผู้เป็นแม่ และมักพบในรายของการตั้งครรภ์หลังๆ คือ พบในคนที่มีลูกหลายคนมาแล้ว เพราะรกในหญิงที่ตั้งครรภ์บ่อยๆ จะมีขนาดใหญ่จนบางครั้งรกเกาะต่ำลงมาถึงปากมดลูก ทำให้มีการฉีกขาดได้ง่าย และมักจะออกค่อนข้างบ่อย คือเป็นๆ หายๆ และจะรุนแรงขึ้น ดังนั้นจึงต้องเข้ารับการดูแลในโรงพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดสภาวะแทรกซ้อน มีสภาวะที่เลือดออกทางช่องคลอด เกิดจากการฉีกขาดของโรคหูดหงอนไก่ในช่องคลอดหรือปากมดลูก เป็นต้น ซึ่งทั่วไปแพทย์จะให้การรักษาโดยการรักษาต้นเหตุ ได้แก่ ให้ยาหยุดบีบตัวของมดลูกเพื่อชะลอการคลอดหรืออาจจะหยุดการคลอดไปเลย แต่ถ้าเป็นระยะใกล้คลอด แพทย์มักจะผ่าตัดคลอดให้ เพราะถ้าให้คลอดทางช่องคลอด เพื่อป้องกันอันตรายให้กับแม่ และทารก”

ขอขอบคุณ โรงพยาบาลกรุงธน 1
โทร. 0-2438-0040-5

ความเห็น (0)Add Comment
เขียนแสดงความเห็น
 
  smaller | bigger
 

busy
Last Updated ( Wednesday, 02 June 2010 )
 
< Prev   Next >
นิตยสาร M&C แม่และเด็ก ฉบับที่ 558 มีนาคม - เมษายน 2564