หมวดหมู่บทความ เจริญเติบโตแข็งแรง 10 – 12 เดือน Search by tag : เจริญเติบโตแข็งแรง, 10 – 12 เดือน, เมื่อลูกปฏิเสธข้าว ยาบำรุงช่วยได้จริงหรือ |
5 เรื่องกังวลใจ เมื่อลูกเข้าขวบปีแรก |
Written by Administrator | |
Tuesday, 24 April 2012 | |
และแล้วก็ถึงเวลาฉลองวันคล้ายวันเกิดปีแรกของลูกน้อย ซึ่งเด็กในวัยนี้ เขาสามารถทำอะไรได้หลายอย่างมาก ยิ่งเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ด้วยแล้ว คงตื่นเต้นกับความเก่ง และความน่ารักน่าชังของลูกเราอยู่ไม่น้อย ใช่มั้ยคะ แต่ขณะเดียวกัน ก็มีหลายๆ สิ่งในวัยขวบปีแรกที่ต้องกังวลอยู่เหมือนกัน ทำไม…น้ำหนักหนูไม่ขึ้นเลย ช่วงขวบปีแรกของลูก น้ำหนักตัวเขาจะไม่ค่อยขึ้นมากนักเหมือนเมื่อก่อน แต่อย่าตกใจค่ะ เป็นเรื่องปกติ นั่นก็เพราะเขามีกิจกรรมให้ทำหลายอย่าง เมื่อใช้พลังงานเยอะ น้ำหนักก็เพิ่มน้อยเป็นธรรมดา แตกต่างจากวัยเด็กแบเบาะที่กินกับนอนเป็นส่วนใหญ่ และอีกอย่างก็เกิดจากพฤติกรรมการกินอาหารเอาแน่เอานอนไม่ได้ เพราะรู้ภาษามากขึ้น ก็จะรู้จักปฏิเสธเมนูอาหารที่คุณแม่สรรหาอย่างไม่ใยดีเลยค่ะ ถ้าเกิดอาการไม่ชอบขึ้นมา อาละวาดล่ะ...ที่หนึ่ง ถ้าเด็กเริ่มมีอาละวาดชักดิ้นชักงอกับพื้น เมื่อถูกขัดใจ ยิ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่หงุดหงิด และอารมณ์เสียใส่ลูก เด็กก็อาละวาดมากยิ่งขึ้นกว่าเก่า เพราะในวัยนี้เขายังไม่รู้จักการควบคุมอารมณ์ ดังนั้น ควรสอนด้วยการพูดหรือโต้ตอบด้วยท่าทีที่สงบ ก็จะช่วยทำให้ลูกเริ่มเรียนรู้การควบคุมอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น เริ่มติดของ เด็กแต่ละคนก็ติดสิ่งของแตกต่างกันค่ะ บ้างก็ติดผ้าห่ม ตุ๊กตา ผ้าอ้อม หมอนข้าง เพราะลูกจะใช้แทนการมีตัวคุณแม่อยู่ใกล้ๆ ตลอดเวลา เขาอาจจะโตขึ้นมากก็ตาม แต่ก็ยังอยู่ในวัยที่ไม่อยากแยกจากคุณแม่ (separation anxiety) แต่อาจจะไม่มากเหมือนเมื่อก่อน และเช่นกันค่ะ อาการกลัวคนแปลกหน้า (stranger anxiety) ก็จะยังคงมีอยู่บ้าง โดยเฉพาะเวลาไปยังสถานที่ที่แปลกใหม่ เจอผู้คนที่ไม่คุ้นเคย ยังไม่ยอมเกาะเดิน ปกติ เด็กจะเดินได้ประมาณอายุ 1 ขวบ แต่จะเร็วหรือช้ากว่านั้นก็ได้ค่ะ ในวัยนี้ ให้คุณแม่สังเกตความพร้อมของลูกที่จะเดินได้ เขาจะค่อยๆ ยันตัวขึ้นยืนแล้วเกาะขอบโต๊ะหรือสิ่งของต่างๆ จากนั้นก็จะก้าวเท้าแล้วเดินไปรอบๆ และเพียงไม่กี่เดือน เขาก็สามารถเดินด้วยตนเองได้อย่างอิสระ แต่ถ้าหากลูกยังไม่มีพัฒนาการดังกล่าว ก็คงต้องขอคำปรึกษาจากคุณหมอแล้วล่ะค่ะ เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ไม่ยอมเดิน ไม่เข้าใจภาษาพูด โดยทั่วไป เด็กจะมีเริ่มมีการพัฒนาด้านการพูดในอายุที่ใกล้เคียงกัน ก็เหมือนกันทุกชาติทุกภาษาค่ะ จะต่างกันแค่รายละเอียดเท่านั้น เช่น อาจพูดช้าเร็วต่างกัน จำนวนคำในการพูด หรือความชัดเจนในการพูด เป็นต้น ลูกน้อยในวัยนี้ เขาจะเริ่มหัดเรียกพ่อเรียกแม่ได้แล้วค่ะ สามารถใช้ท่าทางสื่อความหมาย ชี้บอกถึงความต้องการ พยักหน้าแสดงความเข้าใจ และทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้แล้ว แต่ถ้าไม่คงต้องขอคำปรึกษาจากคุณหมอเช่นเดียวกันค่ะ
ไม่สนใจเล่นกับเพื่อนๆ แสดงแบบ ด.ญ.ชาลิสา อภิธารพันเลิศ (น้องข้าวหอม)
รายการโปรด
Bookmark
ส่งให้เพื่่อน
จำนวนผู้เข้าชม: 10322 ความเห็น (7)
...
เป็นความรู้ดีมากๆๆ
...
ขอบคุณครับ
...
สอนพิเศษ www.tutor-land.com
...
เข้ามาอ่านครับ |