หมวดหมู่บทความ เจริญเติบโตแข็งแรง 1 – 3 ปี

Search by tag : เจริญเติบโตแข็งแรง, 1 – 3 ปี, ถนัดซ้าย ต้องแก้ไข จริงหรือ?


หนูลั้ลลาได้ แม้ไม่สบายตัว
Written by Administrator   
Monday, 10 June 2013
          ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยค่ะ เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวฝนตก สำหรับเด็กเล็กๆ ที่ภูมิต้านทานยังไม่แข็งแรงนั้น ก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย ค่ะ โดยอาการสำคัญที่พบบ่อยๆ ก็คืออาการ “ไข้” นั่นเองค่ะ ดังนั้น ลองมาดูวิธีปฏิบัติเบื้องต้นอย่างง่ายๆ เมื่อลูกไม่สบายกันค่ะ
ไข้สูง - ต่ำ
         เวลาที่ลูกตัวอุ่นๆ เราควรจะใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ลูกเสียก่อนค่ะ อย่าใช้เพียงความรู้สึกจากมืออังหน้าผาก ซอกคอ เพราะอาจจะประมาณผิดพลาดได้ เทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้วัดไข้สำหรับเด็กมีทั้งชนิดวัดทางปากหรือรักแร้, ชนิดวัดทางก้น และชนิดที่วัดทางหู 
ส่วนใหญ่แล้วในเด็กๆ เราไม่นิยมใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ทางปากเพราะว่าเด็กอาจจะกัดเทอร์โมมิเตอร์แตกได้ ถ้าอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 37.5 - 38.5 องศาเซลเซียส ถือว่าเป็นไข้ต่ำ แต่ถ้ามากกว่านั้น ถือว่าเป็นไข้สูงค่ะ
ต้องไม่แตกตื่น โวยวาย
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจไว้ก่อนว่า คนเราเวลาเจ็บป่วย ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ต้องการดูแลเอาใจใส่มากกว่าปกติค่ะ ในเด็กเล็กๆ อาจจะร้องไห้กวน และอ้อนมากขึ้น คุณแม่อาจจะทำให้สงบด้วยการเล่านิทานสนุกๆ ให้ฟังหรืออาจจะโยกตัวลูกไปมาในวงแขนอย่างอ่อนโยนก็ได้ค่ะ อย่าเผลอดุหรือตวาดเข้าให้ ผลเสียที่ตามมาก็คือทั้งแม่และลูกก็ต่างอารมณ์เสียไปกันใหญ่ ลูกก็ยิ่งจะร้องไห้เสียงดังมากขึ้น ทีนี้ เหนื่อยหนักเป็นสองเท่ายิ่งกว่าเก่าอีก
ลดไข้ด้วยการเช็ดตัว
ลดไข้ลูกด้วยการเช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นเล็กน้อย โดยเช็ดในทิศย้อนทางไหลของเลือด เน้นซอกคอ ข้อพับ รักแร้ ใบหน้า หลังเข่า อย่าใช้น้ำเย็น เพราะเด็กอาจจะหนาวสั่นอาจมีผลทำให้เป็นโรคปอดบวมได้ และต้องพยายามป้อนน้ำอุ่นๆ ให้ลูกดื่มบ่อยๆ เพราะจะช่วยลดไข้ ระบายความร้อนทางร่างกายให้ลดลง
หรือถ้าลูกชอบดื่มน้ำผลไม้ก็ให้ดื่มได้มากเท่าที่ต้องการ ถือว่าเป็นผลดีค่ะ เพราะเด็กจะได้รับวิตามินซีเพิ่มไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำส้มคั้น เด็กบางคนที่มีน้ำมูกไหลตลอดเวลาจนปลายจมูกและผิวอ่อนๆ บริเวณใต้จมูกแสบคัน คุณแม่ช่วยได้ด้วยการทาวาสลีนให้ลูกค่ะ
แยกลูกจากพี่น้อง
สาเหตุของโรคหวัด เป็นอาการเจ็บป่วยที่ไม่ร้ายแรงของเด็กๆ มาจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ง่ายมาก ดังนั้น ถ้าลูกป่วย พยายามแยกลูกออกจากพี่น้องค่ะ ถ้าลูกปกติแล้วอยู่เนิร์สเซอรี่ คุณแม่คงต้องหยุดงานเพื่อดูแลลูกอยู่ที่บ้านจะดีที่สุด เพราะเด็กจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ รวมทั้งได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณแม่ ไม่ใช่แค่เฉพาะร่างกาย จิตใจก็สำคัญไม่เบาทีเดียว

เมื่อไหร่ควรพาหาหมอ?
• ไข้สูงเกิน 40 องศาเซลเซียส เพราะเด็กอาจจะชัก ส่งผลกระทบกระเทือนกับสมองได้
• เซื่องซึมผิดปกติ ไม่ดื่มน้ำ ดื่มนม หรืออาหารที่ชื่นชอบ
• มีอาการท้องร่วงและอาเจียนอย่างรุนแรง
• มีไข้นานกว่า 24 ชั่วโมงในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบหรือนานกว่า 72 ชั่วโมงในเด็กอายุมากกว่า 2 ขวบ

 

แสดงแบบ ด.ช.กฤติมา คัจฉพันธุ์ (น้องเอิร์ธ)

ความเห็น (1)Add Comment
0
lovelykidzshop
March 09, 2015
171.101.156.14
Votes: +0
...

ช่วงนี้อากาศร้อนมา
กๆครับ ยังไงต้องหาเสื้อผ้
าเด็ก ที่สวมใส่สบายๆ ให้น้องๆหนูๆ กันด้วยน้าา

เขียนแสดงความเห็น

busy